เมื่อติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะหายเอง เป็นเหตุให้บางคนไม่ตระหนัก อินเดียในขณะนี้เป็นตัวอย่างเมื่อระบบสาธารณสุขล่ม เพราะไม่เข้าใจไม่ตระหนักความร้ายแรงของโรคระบาด
ในเวลาไม่ถึง
2 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อรายวันของอินเดียจากไม่ถึงแสนเป็น 1 แสน 2 แสนและล่าสุดทะลุ
3 แสนคนต่อวันแล้ว
นพ. Amit Thadhani ผอ.รพ. Niramaya ที่เมืองมุมไบ (Mumbai) กล่าวว่าตอนนี้เตียงเต็มตลอด
ถ้าคนไข้คนหนึ่งออกจะมีอีกคนเข้านอนทันที และอีกมากที่กำลังต่อคิวขอนอนโรงพยาบาล
รอบนี้คนหนุ่มสาวอายุ
20-30 หลายคนเข้ารพ.เพราะป่วยหนัก บางส่วนเสียชีวิต
มีข้อมูลว่าการระบาดรอบล่าสุดของอินเดีย 65% ของผู้ป่วยหนัก (ต้องนอนรักษาตัวที่รพ.) เป็นคนหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 40 ปี
![]() |
(จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ทะลุ 3 แสนคนต่อวัน) |
นพ.
Jalil Parkar จากรพ. Lilavati กล่าวว่าตอนนี้
“สาธารณสุขทั้งระบบล่มแล้ว พวกแพทย์ถึงจุดเกินกำลัง (exhausted) ตอนนี้ขาดแคลนไม่พอทุกอย่าง ไม่ว่าจะเตียงผู้ป่วย ออกซิเจน ยา วัคซีน
ชุดตรวจหาเชื้อ แม้รพ.จะเพิ่มเตียงแล้วก็ตาม ทุกที่เต็มด้วยผู้ป่วยที่รอการรักษา
ไม่มีใครช่วยอะไรได้ (เพราะทำเต็มที่กันหมดแล้ว)
ใครที่หาเตียงกับเครื่องช่วยหายใจได้คือพระเอก อาจช่วยต่ออายุญาติพี่น้องของตนที่ติดเชื้อแล้วป่วยหนัก
ตามสื่อโซเชียลมีเดียเต็มด้วยเรื่องราวของผู้ขอความช่วยเหลือ อยากรู้ที่ว่าที่ไหนมีออกซิเจน
มียารักษาโควิด-19
เมื่อระบบล่ม :
เป็นความจริงที่ 80-90% จะหายเองไม่ป่วยหนัก
บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าติดเชื้อ บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยแล้วหายเอง ส่วนใหญ่นอนรอดูอาการสัก
2 สัปดาห์ก็กลับบ้านได้ รพ.สนามสร้างได้ไม่ยาก ใช้โรงแรมได้ยิ่งดี หรือหากหาไม่ได้จริงๆ
ก็นอนบ้าน
แต่อีกมุมที่ไม่พูดคือจะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ป่วยหนัก
ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่รพ. ต้องกินยา ต้องให้ออกซิเจน เป็นความจริงที่แล้วยากับออกซิเจนผลิตเพิ่มได้
แต่ความจริงที่จริงกว่าคือกำลังการผลิตมีจำกัด อินเดียในตอนนี้คือตัวอย่างที่เร่งผลิตยาแล้ว
(อินเดียสามารถผลิตยา remdesivir (เรมดิซิเวียร์)
ที่ใช้รักษาโควิด-19) โรงงานเร่งผลิตออกซิเจนแล้ว แต่ทุกอย่างมีกำลังการผลิตจำกัด
ไม่สามารถสร้างโรงงานชั่วข้ามคืน
เช่นเดียวกับไม่สามารถสร้างแพทย์พยาบาลในเดือนเดียว เป็นสภาพที่ระบบสาธารณสุขล่ม
นี่คือความเข้าใจที่หลายคนยังไม่เข้าใจ (หรือไม่ยอมเข้าใจเสียที)
อินเดียในขณะนี้เป็นอีกตัวอย่างที่ระบบสาธารณสุขล่มล่ม เพราะผู้ป่วยหนักทวีเพิ่มขึ้นมากจนรับไม่ไหวอีกแล้ว
เป็นเหตุให้คนเสียชีวิตเพิ่ม (ทั้งๆ ที่ป้องกันได้)
นี่ยังไม่พูดเรื่องคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ
ต้องชะลอการรักษาออกไปเพราะโควิด-19
บางคนโทษว่าโควิด-19
เป็นแผนลดประชากรโลกของใครบางคน
ถ้ายึดตามแนวคิดนี้น่าจะสรุปแล้วว่าแผนบรรลุเป้าหมาย เพราะในเวลาราวปีเศษเสียชีวิตแล้วกว่า
3 ล้านและจะสูงขึ้นอีก แต่ต้องพูดต่ออีกว่าขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละประเทศแต่ละสังคมด้วย
เพราะหลายประเทศควบคุมโรคระบาดได้ดี
เรื่องที่เขาไม่ค่อยพูดกัน :
เป็นความจริงส่วนใหญ่จะหายเองไม่ป่วยหนัก
แต่ที่หลายคนไม่เอ่ยถึงคือจำนวนหนึ่งอาจจะไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อีกช่วงหนึ่งหรือตลอดชีวิต
ลองคิดดูว่าถ้าผู้นั้นคือคนที่ทำงานเลี้ยงดูคนในครอบครัวแต่ไม่สามารถทำงานตามปกติอีกต่อไป
ใครจะรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัวของเขา หรือใครจะแต่งงานกับผู้ที่เคยป่วยหนักด้วยโควิด-19
ว่าด้วยตัวเลข :
ถ้าคำนวณตัวเลขคร่าวๆ ว่า 5%
ของผู้ติดเชื้อจะป่วยหนักหรือไม่ก็เสียชีวิต เท่ากับว่าในผู้ติดเชื้อ 1 แสนคน จะมีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ
5 พันครอบครัว ถ้า 1 ล้านเท่ากับ 5 หมื่นครอบครัว
ดังนั้น
หากประเทศอินเดียหรือที่ไหนก็แล้วแต่มีผู้ติดเชื้อ 10 ล้านคน
เท่ากับจะมีครอบครัวที่ได้ผลกระทบ 5 แสนครอบครัว
เรื่องนี้มีผลกระทบต่อสังคมประเทศชาติแน่นอน
ควรเข้าใจว่า การทุ่มเททรัพยากรมหาศาลเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19
เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เป็นการทุ่มแรงแก้ไข “สถานการณ์เฉพาะหน้า” เท่านั้น ตราบใดที่คนอีกมากไม่เข้าใจไม่ตระหนักโรคระบาดนี้อย่างครบถ้วน
ที่สุดแล้วผลกระทบจะเกิดกับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน คนกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบก่อนและได้รับมากที่สุด
อ้างอิง:
1. https://www.worldometers.info/coronavirus/country/india/
2. ‘The system has collapsed’: India’s descent into Covid
hell. (2021, April 21). The
Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/world/2021/apr/21/system-has-collapsed-india-descent-into-covid-hell
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น