สังคมกังวลเมื่อเด็กติดเกมติดเน็ตมากขึ้นทุกที
พ่อแม่หลายคนห่วงลูกที่ผลการเรียนแย่ลง กรณีร้ายแรงคือกลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวน
ควบคุมตัวเองไม่ได้ คำถามคือใครที่ทำให้เด็กติดเกมติดเน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต :
อ้างอิง :
รายงานกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นล่าสุดระบุว่านักเรียนมัธยมต้นกับมัธยมปลายทุก
1 ใน 7 คนกำลังเผชิญปัญหาจากการติดอินเทอร์เน็ต (Internet addiction) สถิตินี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กเหล่านี้ไม่สนใจเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
เป็นข้อมูลสำรวจเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
2017 พบว่าเด็กนักเรียนญี่ปุ่นราว 930,000 คนติดเกมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ในขณะที่เมื่อ
5 ปีก่อนมีเพียง 400,000 รายเท่านั้น
โรคติดอินเทอร์เน็ตหรือ
Internet Addiction Disorder (IAD) เป็นการ “เสพติด” (an
addiction) คือยิ่งเล่นยิ่งอยากเล่นต่อ สูญเสียการควบคุมตัวเอง
ระบบประสาทและสมองผิดปกติ
การติดเน็ตรวมทุกกิจกรรมที่ทำผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การท่องเว็บ ดูหนังโป๊
คุยในห้องแชท ส่งข้อความไปมา เล่นเกมในเน็ต ฯลฯ อาจเป็นการใช้เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่นๆ
โรคติดอินเทอร์เน็ต ไม่เพียงทำลายสุขภาพผู้เล่นอินเทอร์เน็ต
ทำให้ระบบประสาทผิดปกติ จิตใจแปรปรวน มีปัญหาการเข้ากับผู้อื่น
เสียงานเสียการเรียน บางคนที่เมื่อชีวิตมีปัญหาอาจเลือกที่จะเล่นเน็ตเพื่อหนีปัญหา
กลายเป็นคนแยกตัวจากสังคม เมื่อมีผู้ป่วยติดอินเทอร์เน็ตจึงขยายเป็นปัญหาครอบครัว
ปัญหาสังคม
การที่ใครชอบเล่นเน็ตนานๆ
จนควบคุมไม่ค่อยอยู่ บางรายอาจไม่ใช่เพียงเพราะสนุกกับเกม
เพลิดเพลินกับการดูการใช้เน็ต แต่แท้จริงแล้วเป็น “โรค” ชนิดหนึ่ง
ปัจจุบันยังถือเป็นโรคใหม่ที่หลายฝ่ายกังวลเพราะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เนื่องจากเป็นโรคใหม่จึงยังขาดวิธีบำบัดรักษาที่เป็นมาตรฐานสากล
วิธีที่ใช้จึงเป็นวิธีเฉพาะของแต่ละกลุ่ม อยู่ระหว่างทดลองว่าวิธีใดดีที่สุด
บางรายใช้วิธีให้ผู้ติดเน็ตเปลี่ยนเวลาเล่น (หวังเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่อยู่ใต้การควบคุมของเน็ต) ทำกิจกรรมอื่นๆ จำกัดเวลาเล่น ห้ามเล่นเกมบางอย่าง
ผู้ป่วยบางรายได้รับยาด้วยแต่เป็นกรณีพิเศษและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
การใช้ยาบางครั้งเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการติดเน็ต เช่น มีอารมณ์แปรปรวน
บางกรณีพ่อแม่ผู้ปกครองจำต้องเข้าร่วมในกระบวนการรักษาด้วย
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
ข้อมูลจากข่าวเด็กมัธยมญี่ปุ่นเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต
ร้อยละ 80 นิยมดูวีดีโอที่แชร์ในกันเน็ต ร้อยละ 70 อ่านข้อความในเน็ต
นักเรียนชายนิยมเล่นเกมออนไลน์ ส่วนนักเรียนหญิงนิยมพูดคุยผ่านเว็บโซเชียล
ประเด็นที่พ่อแม่ผู้ปกครองห่วงใยคือ
ครึ่งหนึ่งของเด็กติดเน็ตผลการเรียนแย่ลงชัดเจน ลำพังการเรียนแย่ลงก็น่าเป็นห่วงแล้ว
ไม่ต้องเอ่ยถึงผลร้ายข้ออื่นๆ
โรคติดอินเทอร์เน็ตเป็นของใหม่ แต่ถ้าพูดถึงว่าเด็กที่ติดทีวีจะพบว่า 2 อย่างมีความคล้ายคลึงกันไม่น้อย ไม่ว่าจะติดเน็ตหรือทีวี
ทั้งคู่ต่างมีผลต่อการเรียนรู้ ความเข้าใจต่อตัวเองและสังคม “สาร” ที่แทรกอยู่มีทั้งที่เป็นประโยชน์กับโทษ
ขึ้นกับว่า “ผู้สร้าง” กำหนดให้เป็นอย่างไร
เกมที่ยิงกันฆ่ากัน
หนังสงครามที่พระเอกฆ่าคนได้เป็นสิบด้วยปืนสั้นปืนยาว
ความสัมพันธ์หนุ่มสาวที่อยู่ในสื่อ เหล่านี้ส่งผลต่อความคิด บรรทัดฐานของผู้เล่นผู้ชม
เช่น ความสำเร็จหรือปัญหาใดๆ จัดการได้ด้วยการ “ฆ่าทำลาย”
อีกฝ่าย ถ้าเป็นพระเอกย่อมฆ่าผู้ร้ายได้อย่างสบายใจ
ถือว่าเป็นความสามารถอันยอดเยี่ยม
งานศึกษาที่เอ่ยถึงนี้เด็กมัธยมต้นร้อยละ 70 มีสมาร์ทโฟน มัธยมปลายมีถึงร้อยละ
90 งานศึกษาอีกชิ้นพบว่าเด็กญี่ปุ่นอายุ 2 ขวบร้อยละ 28.2 ก็เล่นเน็ตแล้ว
ตัวเลขนี้กลายเป็น 65.8 เมื่อสำรวจในเด็กอายุ 9 ขวบ
เป็นคำถามน่าคิดว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง
สังคมมีส่วนต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ หากเด็กติดเกมติดเน็ต และถ้าจะแก้ไข
ผู้ใหญ่อาจเป็น “ปัจจัยสำคัญ” ไม่เพียงที่ตัวเด็กเท่านั้น
4 กันยายน
2018
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
------------------------------
1. Cash, Hilarie., Rae, Cosette D., Steel, Ann H., &
Winklerb, Alexander. (2012, November). Internet Addiction: A Brief Summary of
Research and Practice. Current Psychiatry Review. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3480687/
2. Study: Internet addiction disorder soaring among students.
(2018, September 3). The Asahi Shimbun. Retrieved from http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201809030047.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น