ภายในป่าชุมชน สมาชิกป่าชุมชนมีสิทธิเข้าป่าชุมชนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและมีสิทธิใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชน
พระราชบัญญัติ ป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา
๕๐ ภายในป่าชุมชน
สมาชิกป่าชุมชนมีสิทธิเข้าป่าชุมชนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและมีสิทธิใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชนซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนจัดการป่าชุมชนที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดอนุมัติ
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
การเก็บหาของป่าในป่าชุมชน
(๒)
การใช้ประโยชน์จากไม้ให้ทำได้ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์
โดยต้องไม่ใช้ประโยชน์จากไม้ทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
และให้ทำได้ตามความจำเป็นเพียงเฉพาะเพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน
หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้น
(๓)
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอื่นในป่าชุมชนให้ทำได้ตามความจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน
หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้น
การใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชนตามวรรคหนึ่ง
ต้องเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขตามระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด โดยระเบียบดังกล่าวจะกำหนดข้อห้ามการใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชนชนิดหรือประเภทใด
หรือกำหนดให้การใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชนชนิดใด ประเภทใด หรือกรณีใด
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดด้วยก็ได้
วิเคราะห์ : ถ้าชุมชนมีการบริการจัดการที่ดี
ตั้งโรงธรรมไม้ จะสามารถสร้างบ้าน เก็บเห็ดเก็บหน่อไม้ ปลูกพริกปลูกมะละกอกินในชุมชน
ลดรายจ่าย และอาจสร้างรายได้จากการทำปุ๋ยอินทรีย์ เผาถ่าน ขายพันธุ์ไม้ ฯลฯ ทุกวันนี้บางคนมีไร่เดียวสองไร่ ถ้ามีป่าชุมชนจะช่วยได้อีกทาง
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะรุนแรงกว่านี้
แรงงานที่อาศัยค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ยาก (ลำบาก) ขึ้นทุกที เพราะราคาสินค้าค่าครองชีพไปไวกว่า
หนี้สินมีแต่จะมากขึ้น ทางออกของคนกลุ่มนี้คือหันเข้าหาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะมีชีวิตที่เป็นสุขและยั่งยืนมากกว่า
ในกรณีที่เลวร้ายสุดคือ รัฐประสบปัญหารุมเร้าหลายด้าน
การเมืองไม่มั่นคง ความช่วยเหลือจากรัฐไม่เพียงพอ พวกที่หวังพึ่งรัฐจึงเป็นพวกที่ฉลาดน้อยสุด
ไม้ทุกชนิดที่ปลูกเองหรืออยู่ในพื้นที่ของตนไม่เป็นไม้หวงห้าม
จาก พรบป่าไม้ 2562
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/050/T_0106.PDF
“มาตรา ๗ ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่เป็นไม้หวงห้าม
หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น