บางคนออกมาชี้ว่าฉีดวัคซีนทำให้เสียชีวิต เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน จึงต่อต้านวัคซีน แต่ต้องคิดด้วยเหตุผลและเข้าใจรอบด้าน เพื่อชั่งน้ำหนักว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่ อะไรเสี่ยงตายมากกว่าระหว่างฉีดกับไม่ฉีด
ตั้งแต่เริ่มมีวัคซีนต้านโควิด-19
ก็มีข่าวคนเสียชีวิตหรือป่วยหนักจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สังคมเกิดคำถามว่าควรฉีดหรือไม่
หลายคนตอบทันทีว่า “ไม่ฉีด” เพราะ “ฉีดแล้วตาย”
บางคนพยายามสร้างกระแสต่อต้านการฉีดวัคซีน ชวนให้คิดว่าวัคซีนไม่ดีไม่ปลอดภัย
2.แต่ไม่ฉีดเสี่ยงตายมากกว่าไม่ใช่หรือ
การพูดแบบง่ายๆ
ว่า “ไม่ฉีด” เพราะ “ฉีดแล้วตาย” เป็นความคิดที่ไม่รอบคอบ
เพราะต้องมองอีกด้านว่าหากไม่ฉีดจะตายเพราะโรคโควิด-19 ล่าสุดทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโควิด-19
กว่า 3.1 ล้านคน
หรือส่วนใหญ่ไม่ตายแต่อาจป่วยหนัก
ปอดถูกทำลายไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติอีกตลอดไป ไม่สามารถทำงานหนักได้อีก ฯลฯ
บางรายเกิดอาการทางจิตที่อาจต้องรักษาหลายเดือน
.... จะใช้ชีวิตอย่างไรระหว่างหลายเดือนนี้
3.ความจริงคือวัคซีนคือยาชนิดหนึ่งที่มีโอกาสแพ้ยา
ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ
วัคซีนเป็นยาชนิดหนึ่งที่มีโอกาสแพ้ยา หรือได้รับอันตรายจากยา ซึ่งเป็นปกติของยาทั่วไปอยู่แล้ว
เป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์เภสัชกรจะถามเสมอว่า “แพ้ยาอะไร” หรือไม่
แม้ไม่มีโควิด-19
แทบทุกวันมีคนป่วยเพราะแพ้ยาจนต้องเข้าโรงพยาบาล โลกเป็นแบบนี้อยู่แล้ว
มีคนแพ้ยาทุกวัน บางรายเสียชีวิต
3.1
วิทยาศาสตร์พยายามป้องกันอยู่แล้ว
ถ้าตามข่าวจะพบว่าองค์การอนามัยโลก
หน่วยงานสาธารณสุขทุกประเทศติดตามผลการฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด มีการระงับการฉีดชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ
ซึ่งในหลายกรณีให้กลับไปใช้อีกครั้ง (ตรวจสอบเสร็จแล้ว พบว่าสามารถใช้ต่อ)
อธิบายให้ละเอียดขึ้น วัคซีนทุกตัวผ่านการทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์
เป็นเหตุผลว่าทำไมยังไม่แนะนำฉีดวัคซีนในเด็กเล็ก
(เพราะยังไม่ได้ทดลองในเล็กเด็กไง)
ส่วนกรณีแพ้ยา ลิ่มเลือดอุดตันนั้นเป็นไปได้ แต่มีโอกาสเกิดน้อยมาก
ในทางสาธารณสุขจึงสรุปว่า “ควรฉีด” ดีกว่า
หากอยากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่คิดไปเอง
ที่เลวร้ายที่สุดคือพวกที่พยายามปั่นกระแสต่อต้านวัคซีน
เข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นคือเนื่องจากวัคซีนโควิด-19
ที่ใช้ในขณะนี้เป็นผลจากการเร่งวิจัย จนได้วัคซีนในเวลาไม่ถึงปี แต่การเร่งวิจัยอาจทำให้ขาดข้อมูลครบถ้วนและยังต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติม
เช่น เสี่ยงแพ้วัคซีนมากน้อยแค่ไหน
สุดท้ายแต่ละคนต้องตัดสินใจว่าตัวเองควรฉีดหรือไม่
ปกติแพทย์พยาบาลจะช่วยคัดกรองอยู่แล้วว่าควรฉีดหรือไม่ฉีด (เป็นความเข้าใจผิดถ้าคิดว่าทุกคนต้องฉีด)
เหมือนกรณีแพทย์เห็นว่าไม่ควรผ่าตัดเพราะสูงวัยมากแล้วแม้ป่วยด้วยโรคร้ายก็ตาม
หรือถ้าคิดว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่ดีพอ
ไม่ปลอดภัยพอก็ต้องรอวัคซีนรุ่นใหม่ในอนาคต
ในกรณีโควิด-19
ถ้าไม่ฉีดหรือฉีดไม่ได้เท่ากับว่าต้องป้องกันตัวเองตลอดไป
-------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เมื่อระบบสาธารณสุขอินเดียล่มจากโควิด-19
อ้างอิง :
https://www.channelnewsasia.com/news/world/us-probing-two-blood-clot-cases-johnson-johnson-covid-19-vaccine-14705426
https://www.worldometers.info/coronavirus/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น