ความเห็นต่างทั้งระดับปัจเจกกับระดับรัฐ ความรู้ความเข้าใจต่อโรค การพัฒนาวัคซีนกับยา เหล่านี้เป็นปัจจัยชี้วัดว่ายุคโควิด-19 จะกินเวลายาวนานเพียงไร จะถึง 10 ปีหรือเกินกว่านั้นหรือไม่
ดังที่เคยนำเสนอว่ายุคโควิด-19
แบ่งเป็น 3 ระยะ ณ ขณะนี้ยังอยู่ระยะแรก กำลังระบาดหนัก บางเมืองเปิดบางเมืองปิด
เปิดๆ ปิดๆ เริ่มทดลองใช้ยากับวัคซีน วิธีการรักษาแบบต่างๆ
ประการแรก
ระดับบุคคล กลุ่มเฉพาะ
ในขณะที่คนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือป้องกันโรคระบาด แต่บางคนบางกลุ่มทำสิ่งตรงข้าม
แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย
1.1
พวกไม่เห็นด้วย ต่อต้าน
กลุ่มนี้คือพวกที่ต่อต้านการล็อกดาวน์
การปิดเมืองปิดประเทศ ชุมนุมประท้วงรัฐบาล ไม่ยอมทำตามมาตรการของรัฐ เช่น ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามไปเที่ยวชายหาด
จัดงานเลี้ยง หลายประเทศมีคนประเภทนี้ไม่มากก็น้อย
1.2
ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร
กลุ่มนี้ไม่ถึงกับต่อต้านแต่ไม่ให้ความร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดเท่าที่ควร
เช่น การรักษาระยะห่างอยู่เสมอ การสวมใส่หน้ากากอนามัย ผลคือมาตรการปกติไม่ได้ผล
ไม่อาจควบคุมการระบาดได้ดี บางประเทศต้องประกาศล็อกดาวน์ ปิดเมืองปิดประเทศอีกครั้ง
เช่น หลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางกับยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี
ฝรั่งเศส รัสเซีย
กรณียุโรป
ในเวลา 5 สัปดาห์ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเป็น 2 เท่า แม้การแพร่ระบาดมาจากหลายปัจจัยแต่สะท้อนว่ามาตรการปกติไม่ได้ผล
ต่างจากบางประเทศที่ได้ผล เช่น ไต้หวัน เวียดนาม จีน ไทย
ประการที่
2 ระดับประเทศ
แยกโดยหลักคิดหรือนโยบายของรัฐบาล
แบ่งเป็น 2 ประเภท พวกเห็นด้วยกับการล็อกดาวน์กับไม่สนับสนุนการล็อกดาวน์
2.1
ไม่เห็นด้วยกับการล็อกดาวน์
รัฐบาลทรัมป์เป็นกรณีตัวอย่าง
หลักคิดคือเศรษฐกิจสำคัญกว่าโรคระบาด ประธานาธิบดีทรัมป์พูดซ้ำหลายครั้งว่าขอให้ฟังตนมากกว่าเชื่อข้อมูลวิทยาศาสตร์
ให้เหตุผลว่าพวกนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ตกอยู่ใต้อำนาจการเมืองไปแล้ว
สตีเวน มนูชิน (Steven Mnuchin) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประกาศจะไม่ใช้มาตรการปิดเมืองอีกแล้วเพราะสร้างความเสียหายมากกว่า
เรื่องที่ต้องทำคือ “ทุกคนต้องกลับไปทำงาน” แม้เสี่ยงติดเชื้อก็ตาม
2.2
เห็นด้วยกับการล็อกดาวน์
กลุ่มนี้รู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจสังคมแต่เห็นว่าจำต้องล็อกดาวน์
เพราะเป็นวิธีที่ก่อประโยชน์มากกว่า เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความรู้ระบาดวิทยา จีนเป็นตัวอย่างแรก
รัฐบาลสั่งปิดเมืองอย่างรวดเร็วและเข้มงวด ให้ประชาชนทุกคนอยู่แต่ในบ้าน รัฐบาลส่งกองทัพเข้าไปส่งน้ำส่งอาหาร
วิธีการนี้ได้ผลสามารถควบคุมการแพร่ระบาด
เมื่อต้นพฤศจิกายนที่ผ่านมานายกฯ
อังกฤษ บอริส จอห์นสันกล่าวว่าในสถานการณ์ตอนนี้ที่กำลังระบาดหนักไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปิดเมืองอีกรอบ
เตือนว่าหากโควิด-19 แพร่ระบาดหนักจนระบบสาธารณสุขรับไม่ไหว
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือแพทย์พยาบาลมีสิทธิเลือกว่าควรรักษาใครก่อนหรือทิ้งใครไว้
เรื่องที่ต้องเข้าใจคือ
การล็อกดาวน์ให้อยู่แต่ในบ้านเป็นมาตรการแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนปกติ
ไมว่าผู้ติดเชื้อแสดงอาการหรือไม่ เพราะหลังจาก 14 วัน (หรือมากกว่า)
ผู้ป่วยโควิด-19 จะแสดงตัวให้รู้หรือไม่ก็หายเอง รัฐบาลที่ไม่สนับสนุนการปิดเมืองเท่ากับปล่อยให้โรคระบาดหนักต่อไปเรื่อยๆ
ประการที่
3 ระดับโลก
3.1
การแพร่ระบาดแบบไม่รู้ตัว
ตั้งแต่แรกระบาดกระทรวงสาธารณสุขจีนเผยว่ามีกรณีเชื้อแพร่ระบาด
“ก่อนผู้ป่วยมีอาการ” ก่อนผู้ป่วยจะรู้ตัว
การแพร่เชื้อขณะไม่แสดงอาการมีความชัดเจนและดูเหมือนจะมากกว่าที่เข้าใจตอนแรก
งานวิจัยของสำนักสถิติแห่งชาติสหราชอาณาจักร (ONS) พบว่าผู้ป่วยโควิด-19
ร้อยละ 86.1 (ช่วงเดือนเมษาถึงมิถุนา) ไม่แสดงอาการ (ไข้ ไอ เสียการรับกลิ่นรส)
งานวิจัยที่เผยแพร่ปลายเดือนตุลาคมพบว่าร้อยละ
20 ของพนักงานร้านขายของชำสหรัฐติดโรคโควิด-19 และส่วนใหญ่เป็นพวกไม่แสดงอาการ
ข้อมูลหลายชิ้นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยโควิด-19
ชนิดไม่แสดงอาการมีมากขึ้น
3.2
ประสิทธิภาพวัคซีน
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าทันทีที่โลกมีวัคซีนปัญหาโควิด-19
จะหมดไป ความจริงซับซ้อนกว่านั้น ปลายเดือนกันยายน คริส วิทตี้ (Chris
Whitty) หัวหน้าทีมแพทย์อังกฤษเตือนอย่าคาดหวังวัคซีนรุ่นแรกมากนัก เพราะวัคซีนรุ่นแรกอาจมีประสิทธิภาพป้องกันโรคเพียง
40-60% (ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อได้)
ประโยชน์ของวัคซีนรุ่นแรกคือลดอาการเจ็บป่วย
ก่อนหน้านั้นแอนโทนี
เฟาซี (Anthony Fauci) พูดทำนองเดียวกันว่าในระยะแรกถ้าได้ผลสัก
75% ถือว่าดีแล้วหรือถ้าได้ผล 50-60%
ก็ยอมรับได้
ต้องรอพัฒนาวัคซีนรุ่นต่อไปที่ปรับปรุงจากรุ่นแรก
(ตรงกับระยะที่ 3 ของยุคโควิด-19)
3.3
การกระจายวัคซีน
ประเทศเศรษฐกิจดีประชาชนย่อมได้วัคซีนอย่างทั่วถึงก่อน
ตรงข้ามกับประเทศยากจนที่ต้องรอความช่วยเหลือ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกชี้ว่าหลักการให้วัคซีนที่ถูกต้องคือ
ให้บางคนแก่ทุกประเทศ “ดีกว่า” ให้ทุกคนในประเทศตัวเองก่อน หากไม่ช่วยประเทศอื่นจะทำให้การระบาดยืดเยื้อ
เป็นที่มาของโครงการวัคซีนโลก
COVAX เพื่อกระจายวัคซีนแก่ทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศยากจน ความคืบหน้าโครงการเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม
การฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เป็นโครงการระดับโลกที่ต้องเห็นผลเร็ว ยิ่งช้ายิ่งเสียหาย
3.4
เชื้อกลายพันธุ์
โดยธรรมชาติเชื้อไวรัสกลายพันธุ์อยู่เสมอ บางครั้งก่อโรครุนแรงขึ้นบางครั้งลดความรุนแรง
ล่าสุดพบคนติดเชื้อโรคโควิด-19 จากสัตว์จำพวกมิงค์ (mink) ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าอาจเป็นต้นเหตุระบาดรอบใหม่จากเชื้อโรคโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ ที่น่ากังวลกว่านั้นคือสายพันธุ์นี้ต่างจากสายพันธุ์ปัจจุบันมาก
เกรงว่าวัคซีนที่กำลังวิจัยอยู่อาจใช้ไม่ค่อยได้ผล ต้องวิจัยใหม่หมด
การที่มิงค์ติดโควิด-19 มาจากการกลายพันธุ์เช่นกัน
เชื้อกลายพันธุ์เป็นเหตุที่ต้องวิจัยและปรับปรุงวัคซีนเป็นระยะ ให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอ
และต้องวิจัยให้เร็วมากพอด้วย
3.5
ทฤษฎีสมคบคิด
ในขณะที่หลายคนพูดว่าวัคซีนคือทางออกแต่อีกด้านเกิดคำถามว่าควรรับวัคซีนหรือไม่
ผลโพลจาก
Pew Research Center ที่นำเสนอกลางเดือนกันยายนพบว่าคนอเมริกันร้อยละ
51 เท่านั้นที่อยากฉีดวัคซีน ที่เหลือกังวลว่าวัคซีนไม่ปลอดภัย
ก่อนหน้านั้น
1 เดือน ผลสำรวจของ Gallup พบว่าคนอเมริกันร้อยละ 65 เท่านั้นที่ยอมฉีดวัคซีน
ร้อยละ 35 บอกว่าจะไม่ฉีดแม้ อย.สหรัฐรับรองและฉีดให้ฟรี
มีหลายเหตุผลที่ไม่ยอมฉีด
ที่พูดกันมากคือ “ทฤษฎีสมคบคิด” (conspiracy theory) หนึ่งในทฤษฎีที่คนเชื่อกันมากคือมนุษย์เป็นผู้สร้างโควิด-19 เป็นแผนการที่วางไว้หลายปีแล้ว บิล เกตส์ (Bill Gates) แห่งไมโครซอฟร่วมกับชนชั้นปกครองโลกต้องการลดประชากรโลก หวังใช้เหตุการณ์นี้ควบคุมโลกด้วยการสร้างวัคซีนที่ใส่ไมโครชิปควบคุมมนุษย์
คนที่เชื่อว่าวัคซีนใส่ไมโครชิปอาจไม่ใช้วัคซีนตัวใดๆ เลย เพราะไม่รู้ว่ามีไมโครชิปอยู่ในหลอดยาของตนหรือไม่
คนเหล่านี้จะคิดว่าสถาบันการแพทย์ องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ไม่น่าเชื่อถือเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครองโลก
นี่คือการอธิบายตามแนวทฤษฎีสมคบคิด
มีปัจจัยลบหลายข้อที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อ บทความนี้นำเสนอภาพโดยสังเขป
สรุปว่าความเห็นต่างทั้งระดับปัจเจกกับระดับรัฐ ความรู้ความเข้าใจต่อโรค การพัฒนาวัคซีนกับยา
เหล่านี้เป็นปัจจัยชี้ว่ายุคโควิด-19 จะกินเวลายาวนานเพียงไร จะถึง 10
ปีหรือเกินกว่านั้นหรือไม่
8 พฤศจิกายน
2020
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
25 ฉบับที่ 8763 วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563)
-------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ยุคโควิด-19ผลของโควิด-19 จะอยู่กับโลกอีกหลายปี หลายอย่างจะเปลี่ยนไป เป็นที่มาของคำว่า “ยุคโควิด-19” เป็นทั้งโอกาสกับการทำลายล้าง ความร่วมมือช่วยให้อยู่รอดร่วมกัน
1. About 20% of grocery store workers had Covid-19, and most
didn't have symptoms, study found. (2020, October 30). CNBC. Retrieved from
https://edition.cnn.com/2020/10/29/health/grocery-workers-increased-covid-19-risk-wellness/index.html
2. China says coronavirus can spread before symptoms show --
calling into question US containment strategy. (2020, January 26). CNN.
Retrieved from https://edition.cnn.com/2020/01/26/health/coronavirus-spread-symptoms-chinese-officials/index.html
3. Covid: more than 80% of positive UK
cases in study had no core symptoms. (2020, October 8). The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/world/2020/oct/08/more-than-80-positive-cases-in-covid-study-had-no-core-symptoms
4. Danish Covid-19 mink variant could
spark new pandemic, scientists warn. (2020, November 5). The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/environment/2020/nov/05/danish-covid-19-mink-variant-could-spark-new-pandemic-scientists-warn
6. Europe's COVID-19 cases double in five weeks, total
infections surpass 10 million. (2020, November 2). Reuters. Retrieved from https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-europe-cases/europes-covid-19-cases-double-in-five-weeks-total-infections-surpass-10-million-idUSKBN27H1M1
7. EU joins WHO's coronavirus vaccine alliance, offers €400 million investment. (2020, August 31). Deutsche Welle.
Retrieved from https://www.dw.com/en/eu-joins-whos-coronavirus-vaccine-alliance-offers-400-million-investment/a-54774743
8. Just 51% of Americans would get
coronavirus vaccine right now. (2020, September 18). Fox News. Retrieved from https://www.foxnews.com/us/just-half-of-americans-would-get-coronavirus-vaccine
9. Not a 'Silver Bullet': UK Scientists Say First COVID
Vaccine Unlikely to Stop People Catching Virus. (2020,
September 25). Sputnik News. Retrieved from https://sputniknews.com/uk/202009251080567207-not-a-silver-bullet-uk-scientists-say-first-covid-vaccine-unlikely-to-stop-people-catching-virus/
10. 'NOT GREAT' Fauci warns COVID-19
vaccine may only be 50% effective so US ‘must never abandon the public health
approach’. (2020, August 8). The
Sun. Retrieved from https://www.thesun.co.uk/news/12350872/coronavirus-vaccine-fauci-half-effectiveness-public-health/
11. One in Three Americans Would Not
Get COVID-19 Vaccine. (2020, August 7). Gallup.
Retrieved from https://news.gallup.com/poll/317018/one-three-americans-not-covid-vaccine.aspx
12. There's no alternative to lockdown, Boris Johnson tells
MPs. (2020, November 2). The
Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/world/2020/nov/02/boris-johnson-tells-mps-there-is-no-alternative-to-englands-lockdown
13. Treasury Secretary Mnuchin says ‘we can’t shut down the
economy again’. (2020, June 11). CNBC.
Retrieved from https://www.cnbc.com/2020/06/11/treasury-secretary-mnuchin-says-we-cant-shut-down-the-economy-again.html
14. Trump threatens to fire Fauci in rift with disease
expert. (2020, November 2). AP.
Retrieved from https://apnews.com/article/trump-threatens-fire-fauci-rift-disease-57c804db048aa7f1c99f227b495f52e6
15. WHO chief warns against COVID-19 'vaccine
nationalism'. (2020, October 26). Channel
News Asia. Retrieved from https://www.channelnewsasia.com/news/world/who-chief-tedros-warns-against-covid-19-vaccine-nationalism-13372780
--------------------------
ความคิดเห็น
โพสต์ความคิดเห็น