ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market
สนใจคลิก

ภาพเศรษฐกิจโลกล่าสุด เปลี่ยนความคิดพิชิตโควิด-19

วิกฤตโรคโควิด-19 ระดับโลกยังไม่เห็นปลายทาง ทุกคนทุกประเทศต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เริ่มจากทำงานเพื่อให้อิ่มท้อง และค่อยพัฒนาด้านอื่นๆ สร้างชุมนุมสังคมให้ได้รับผลกระทบน้อยสุด

เศรษฐกิจโลกล่าสุด :

รายงานล่าสุดจาก กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวร้อยละ 5.2 เป็นการถดถอยแรงสุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

ในหมู่ประเทศพัฒนาแล้วกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 7 ทั้งจากอุปสงค์กับอุปทานภายในประเทศ การค้าภายในประเทศ ภาคการเงินถูกสั่นคลอนอย่างหนัก

เฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าปีนี้จะหดตัวร้อยละ 6.1 เขตยูโรหดตัว 9.1

ตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่กับประเทศกำลังพัฒนาจะหดตัวร้อยละ 2.5 เฉพาะภูมิภาคลาตินอเมริกากับแคริบเบียนจะหดตัวร้อยละ 7.2

ส่วนเอเชียตะวันออกกับเอเชียแปซิฟิกจะ “โต” เพียงร้อยละ 0.5 เป็นภูมิภาคเดียวในโลกที่ปีนี้ยังโต เฉพาะจีนจะโตร้อยละ 1

            โดยรวมแล้ว กลุ่มธนาคารโลก ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะไม่นอนแน่และอาจยังเป็นขาลงต่อไป อาจหดตัวแรงกว่านี้จากโรคระบาดโควิด-19 เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในภาคการเงิน การค้าโลกถดถอย และสรุปว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกอยู่ในวิกฤติ (The Global Economy in Crisis)

            ฉากทัศน์ที่เลวร้ายประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจหดตัวมากกว่าร้อยละ 8 และฟื้นตัวดีขึ้นในปีหน้า (2021) โดยจะโตราวร้อยละ 1 แนะนำให้รัฐบาลทุกประเทศเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

            ย้อนหลังกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวร้อยละ 3 เมื่อไม่นานนี้ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดคาดการณ์อีก หลังข้อมูลที่เข้ามาใหม่ให้ภาพลบมากกว่าเดิม คาดว่าจะนำเสนอรายงานใหม่ในเดือนนี้

            ด้านธนาคารโลกมองภาพปีหน้าสดใสกว่า คือประเมินว่าโตถึงร้อยละ 4.2 ด้วยเงื่อนไขว่าการแพร่ระบาดลดน้อยลงจนถึงขั้นประเทศต่างเปิดเมืองออกให้เศรษฐกิจเดินเคลื่อน แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม

            ภาพระดับปัจเจก กลุ่มคนยากจนที่สุด (extreme poverty) จะเพิ่มขึ้น กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ประเมินว่าจะทำให้อีก 60 ล้านคนกลายเป็นคนยากจนที่สุด กลุ่มคนยากจนคือพวกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด ทำให้สังคมเหลื่อมล้ำมากขึ้น

            ตอนนี้ธนาคารโลกกำลังช่วยเหลือให้ประเทศต่างๆ ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ฟื้นตัวเร็วสุด


สถานการณ์โควิด-19 :

เป็นเวลา 5 เดือนเศษนับจากที่ทางการจีนแจ้งองค์การอนามัยโลกพบการแพร่ระบาดโรคระบาดโควิด-19

ภาพรวมระดับโลก ยอดผู้ยืนยันติดเชื้อทะลุ 7 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ยืนยันติดเชื้อรายใหม่ตอนนี้มักจะมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน และกำลังเพิ่มขึ้นด้วย

จากการวิเคราะห์เป็นไปได้ว่าก่อนสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ยอดผู้ยืนยันติดเชื้อสะสมทั่วโลกอาจทะลุ 10 ล้านคน นั่นหมายความว่าภายในเดือนมิถุนาเพียงเดือนเดียวมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 4 ล้าน

ดังนั้น ภาพรวมระดับโลก โควิด-19 ระบาดมากขึ้น ทั้งในบางประเทศที่ระบาดอยู่ก่อนแล้ว กับประเทศที่เริ่มระบาดหนัก ควรจับตาทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกาและอนุภูมิภาคอินเดีย

จากความรู้ความเข้าใจในขณะนี้ โควิด-19 จะอยู่กับโลกอีกหลายปี เมืองที่ปลอดโรคแล้วอาจมีผู้ติดเชื้ออีก ดังนั้นคำว่าปลอดโรคปลอดเชื้อร้อยเปอร์เซ็นต์จึงไม่น่าจะมีจริง ในขณะที่จำต้องเปิดเมืองให้คนกลับไปทำงาน นักเรียนไปโรงเรียน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจทำงาน สังคมเดินหน้าต่อไป

            ทุกคนต้องปรับตัวใช้ชีวิตแบบ New Normal

ข้อเสนอแนะ :

          1. จัดการภายในประเทศ

            โลกจะฟื้นฟูคืนสู่ปกติเมื่อทุกประเทศฟื้นตัว แต่การจะเป็นเช่นนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย บางส่วนควบคุมไม่ได้ ดังจะเห็นว่าในขณะที่บางประเทศควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี บางประเทศอยู่ในภาวะทรงตัว และบางประเทศกำลังย่ำแย่

            เฉพาะปัจจัยโรคระบาดโควิด-19 เพียงข้อเดียว ชี้ให้เห็นว่าประเทศต่างๆ จะไม่ฟื้นตัวพร้อมกัน บางประเทศยังแก้ปัญหาโรคระบาดไม่ได้ด้วยซ้ำ

            ดังนั้น เมื่อประเทศต่างๆ ไปไม่พร้อมกัน สิ่งที่ทำได้คือต้องดูแลภายในประเทศตนให้ดีที่สุดก่อน ต้องควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ พร้อมกับเดินเครื่องเศรษฐกิจให้มากที่สุด

            เน้นการจ้างงานคนในประเทศ แทนการใช้แรงงานต่างด้าว

            ต้องลดคนว่างงานให้เหลือน้อยที่สุด

            ให้ทุกคนเป็นนักจับปลา ดูแลปากท้องตัวเองได้ ดีกว่าใช้วิธีให้รัฐบาลป้อนข้าวป้อนน้ำ

            ส่งเสริมให้เน้นภาคเศรษฐกิจพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยเฉพาะอาหารที่มีความจำเป็นสูงสุด ต้องให้มั่นใจว่าการผลิตอาหารเพื่อกินมีมากพอ ราคาถูก

            ดังนั้น จึงต้องส่งเสริมภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการเกษตรหลากหลายประเภท ทั้งเกษตรเชิงอุตสาหกรรม เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรไฮเทค ขึ้นกับบริบทของแต่ละคน ของธุรกิจต่างๆ เป้าหมายพื้นฐานสุดคือทุกคนต้องเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้รัฐป้อนข้าวป้อนน้ำ

            แค่ปลูกพริก มะเขือ ฯลฯ แค่นี้ก็ลดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย

          2. เมื่อปากท้องอิ่ม พัฒนาศักยภาพบุคคล

            เมื่อปากท้องอิ่ม ความวิตกกังวลจะลดน้อยลง สังคมสงบสุขมากขึ้น ขั้นต่อไปหรือที่ต้องทำพร้อมๆ กับเรื่องปากท้องคือพัฒนาศักยภาพของบุคคล การเกษตรต้องมีประสิทธิมากขึ้น ประชาชนต้องมีความรู้มากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ตอบโจทย์ตรงนี้ ขอเพียงต้องการเรียนรู้ มีความรู้ดีๆ ให้เรียนไม่จบสิ้น

          3. พัฒนาชุมชน ท้องถิ่น

            ครอบครัวเดียวที่มีกินมีใช้ อยู่ดีมีสุข จะไม่ยั่งยืน หากเพื่อนบ้านข้างเคียงยังทุกข์อยู่ ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เมื่อทุกบ้านในชุมชนหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขด้วย ดังนั้น การพัฒนาต้องไม่พัฒนาเพื่อบ้านตัวเองเท่านั้น แต่ต้องให้ทั้งชุมนุมอยู่ได้ และขยายออกไปเรื่อยๆ จากชุมชนเล็กสู่ชุมนุมใหญ่ สู่อำเภอ จังหวัด ฯลฯ หากทำเช่นนี้ได้จะยั่งยืน

            ดังนั้น ชุมนุมต้องร่วมมือร่วมใจ รัฐมีหน้าที่ต้องเข้ามาช่วยกำกับ ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง

            การโทษฟ้าโทษดินโทษคนอื่นไม่ช่วยอะไร แต่ทุกอย่างจะดีขึ้นเมื่อลงมือทำ เปลี่ยนผืนดินทุกตารางนิ้วให้ผลิตอาหาร เปลี่ยนทุกความคิดให้พัฒนา ทุกความก้าวหน้าเกิดจากจินตนาการ ความรู้ความเข้าใจ สร้างสิ่งที่ว่างเปล่าในอากาศให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์

            ถ้ายังหายใจอยู่ก็ไม่ควรปล่อยให้อากาศที่สูดเข้าไปสูญเปล่า

8 มิถุนายน 2020

ชาญชัย คุ้มปัญญา

----------------------

เครดิตภาพ : unsplash.com

ความคิดเห็น

บัตรสุขภาพ สบายกาย สบายใจ

บัตรสุขภาพ สบายกาย สบายใจ
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 แพ็กเกจตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ปรึกษาแพทย์ ส่วนลดค่ายา

ประกันภัยเบาหวาน Protect

ประกันภัยเบาหวาน Protect
สนใจคลิก

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market
สนใจคลิก

ซื้อประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันทุกชั้น ซื้อได้ทั่วประเทศ

ซื้อประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันทุกชั้น ซื้อได้ทั่วประเทศ
ซื้อหรือสอบถามคลิกที่รูป