มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่าการกินเนื้อแดงเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นโรงมะเร็ง
จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือทานแต่น้อย แต่งานวิจัยล่าสุดกลับชี้ว่าเนื้อแดงไม่เป็นภัยอย่างที่คิด
สามารถกินได้ตามปกติเหมือนอาหารทั่วไป
Sven Brandsma
แนวทางเดิมกับแนวทางใหม่ :
แนวทางเดิม เช่น แนวทางการบริโภคอาหารสหรัฐอเมริกา
(2015–2020 Dietary Guidelines for Americans) แนะนำให้กินเนื้อแดงแต่น้อย
รวมทั้งเนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ทำเป็นไส้กรอก แฮม
แนวทางการบริโภคอาหารสหราชอาณาจักร
(United Kingdom dietary guidelines) แนะให้กินไม่เกิน 70
กรัมต่อวัน
กองทุนวิจัยโรคมะเร็งของโลกกับสถาบันวิจัยโรคมะเร็งแห่งประเทศอเมริกา
(World Cancer Research Fund/American Institute for Cancer Research) แนะว่าอย่ากินเนื้อแดงมากและกินเนื้อผ่านกระบวนการแต่น้อย บนข้อสรุปว่าเนื้อแดงน่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง
(probably carcinogenic) ส่วนเนื้อผ่านกระบวนการเป็นสารก่อมะเร็ง
(carcinogenic)
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางคนไม่เห็นด้วย
เห็นว่างานวิจัยที่นำสู่ข้อสรุปเหล่านั้นไม่ชัดเจนพอ มีข้อสงสัยบางจุด เป็นที่มาของการรวมตัวของนักวิจัยหลายประเทศผู้เรียกตัวเองว่ากลุ่ม
Nutritional Recommendations (NutriRECS) ทบทวนงานวิจัย 50
กว่าชิ้นจากชาติตะวันตกอย่างละเอียดเป็นระบบ
ผลการศึกษาของ NutriRECS ได้ข้อสรุปว่า ผู้ใหญ่
(อายุ 18 ปีขึ้นไป) สามารถบริโภคเนื้อแดงกับเนื้อผ่านกระบวนการเหมือนอาหารปกติทั่วไป
ในรายละเอียด
กลุ่มได้ทบทวนงานวิจัย 12 ชิ้น มีผู้เข้าร่วม 54,000 คน พบว่าการกินแฮมแทบไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็ง
งานวิจัย
17 ชิ้น มีผู้เข้าร่วม 2.2 ล้านคน
พบว่าการลดบริโภคเนื้อแดงไม่สัมพันธ์กับการเป็นโรคมะเร็ง หรือมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นเพราะไม่ป่วยเป็นมะเร็ง
มีงานวิจัยเพียง 9
ชิ้นที่พบว่าการลดบริโภคเนื้อแดงกับเนื้อผ่านกระบวนที่สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งอยู่บ้าง
โดยรวมแล้ว NutriRECS
ให้ข้อสรุปว่า การกินเนื้อแดงกับเนื้อผ่านกระบวนการ (เช่น แฮม
ไส้กรอก) แทบไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็ง หรืออาจมีผลบ้างแต่น้อยมาก
(งานวิจัยบางชิ้นสรุปเช่นนั้น) ดังนั้น จึงไม่ควรสรุปว่า ให้ลดหรือเลี่ยงการบริโภคเนื้อแดงกับเนื้อผ่านเป็นกระบวนเพราะจะเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็ง
อนึ่ง ข้อสรุปของ NutriRECS สวนทางข้อสรุปแนวทางการบริโภคอาหารขององค์กรอื่นๆ
เป็นเรื่องน่ารับฟังแต่ควรรอผลการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนกว่านี้
งานศึกษานี้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็ง
อย่างไรก็ตามการบริโภคเนื้อจำนวนมากเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน
โรคเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือด ดังนั้น การบริโภคแต่พอดียังเป็นวิธีการที่ควรยึดถือปฏิบัติ
1 ตุลาคม 2019
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-----------------------
อ้างอิง :
Unprocessed Red Meat and Processed Meat Consumption: Dietary
Guideline Recommendations From the Nutritional Recommendations (NutriRECS)
Consortium. (2019, September 30). Annals
of Internal Medicine. Retrieved from https://annals.org/aim/fullarticle/2752328/unprocessed-red-meat-processed-meat-consumption-dietary-guideline-recommendations-from
ความคิดเห็น
โพสต์ความคิดเห็น