ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market
สนใจคลิก

โสมกับยาแผนปัจจุบัน เข้ากันได้หรือตีกันเอง

โสมหรือสารสกัดจากโสมเป็นที่นิยมใช้กันมาก จึงมีผู้กังวลว่าจะมีผลต่อยารักษาแผนปัจจุบันที่ผู้ป่วยกินหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อยาแผนปัจจุบัน การกินโสมกับยาแผนปัจจุบันค่อนข้างปลอดภัย มีที่ต้องระวังน้อย
คนส่วนใหญ่รู้จักโสม หลายคนเคยกินโสม เป็นพืชสมุนไพรที่ทรงคุณค่า ใช้กันอย่างแพร่หลายยาวนานนับพันปี บ้างว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
โสมและประโยชน์ของโสม :
            โสม (ginseng) ขึ้นในหลายประเทศไม่เฉพาะเอเชีย เช่น มีโสมอเมริกา (American ginseng) แต่ที่คนเอเชียนิยมจะเน้นโสมจีนหรือโสมเกาหลี
โสมเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีรากใต้ดินขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม รากเป็นสีเหลือง เนื้อในรากเป็นสีขาว ลำต้นตั้งตรง รากเป็นส่วนที่นิยมมาทำเป็นยา รสขมเล็กน้อยเจือหวานชุ่มคอ มักใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงอวัยวะภายใน แก้อ่อนเพลีย เป็นยาบำรุงประสาท บำรุงสมอง แก้ความจำเสื่อม แก้เบื่ออาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เสริมสร้างภูมิต้านทาน
            รากโสมจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุ 3-6 ปี ถ้านำไปตากแห้งจะได้โสมขาว ถ้านำไปอบไอน้ำจะได้โสมแดง ทั้ง 2 วิธีเป็นกระบวนการให้ความร้อน มีผลต่อฤทธิ์ของโสม
            โสมปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นโสมปลูก นำมาผลิตเป็นยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ใช้กันอย่างกว้างขวาง จึงมีโอกาสที่ผู้บริโภคจะกินโสมหรือสารสกัดจากโสมพร้อมกับยาแผนปัจจุบันที่ผู้บริโภคกินร่วมด้วย
โสมปลูกที่อเมริกา
ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ :
            สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของโสมคือ ginsenosides ซึ่งแบ่งออกเป็นชนิดแยกย่อยได้ 2 กลุ่มหลักคือ protopanaxadiols กับ protopanaxatriols
            ฤทธิ์ของโสมต่อเอนไซม์ที่ศึกษากันมาคือต่อเอนไซม์ CYP450 พบว่าโสมมีฤทธิ์ยับยั้งต่อ CYP 450 ชนิด CYP1B1, CYP2D19, CYP2D6 ที่มีฤทธิ์เสริมคือ CYP3A11 และที่มีฤทธิ์ทั้งยับยั้งและเสริมคือ CYP1A1, CYP1A2, CYP2C9 และ CYP3A4 เหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากวิธีศึกษาและชนิดของเอนไซม์ที่แตกต่างกัน
มีผู้ป่วยบางรายที่กินโสมพร้อมกับยา warfarin (ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง) พบว่าเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น (ลดฤทธิ์ยา) แต่ไม่พบว่าสารสกัดโสมมีผลต่อฤทธิ์ยา warfarin ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบกับผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
แต่ไม่มีผลต่อยา losartan (ยาลดความดันโลหิตชนิดหนึ่ง) omeprazole (ยาลดกรด แก้โรคกระเพาะ) dextromethorphan (ยาแก้ไอ)
สารสกัดโสมมีผลลดฤทธิ์ยา fexofenadine (ยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง) ในหนูทดลอง แต่ไม่พบว่ามีผลต่อมนุษย์ ทำนองเดียวกับยา midazolam (ยาต้านอาการวิตกกังวล) จะสังเกตว่าเป็นผลการทดลองที่ข้อสรุปขัดแย้งกัน
โสมเกาหลี
สรุป :
            เนื่องจากโสมหรือสารสกัดจากโสมเป็นที่นิยมใช้กันมาก จึงมีผู้กังวลว่าจะมีผลต่อยารักษาแผนปัจจุบันที่ผู้ป่วยกินหรือไม่ ผลการวิจัยที่ปรากฏพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อยาแผนปัจจุบัน มียาเพียงไม่กี่ชนิดที่มีผล เช่น ยาที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ CYP450 จึงพอสรุปได้ว่าการกินโสมกับยาแผนปัจจุบันค่อนข้างปลอดภัย มีที่ต้องระวังน้อย
            อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่าการวิจัยไม่ได้ครอบคลุมยาทุกตัวทุกประเภท การกินโสมหรือยาสมุนไพรใดๆ คู่กับยาแผนปัจจุบันจำต้องได้รับการดูแลตรวจสอบอยู่เสมอ หมั่นสังเกตอาการว่ามีผลต่ออาการของโรค อาการทั่วไปอย่างไร
15 ตุลาคม 2019
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-----------------------------
อ้างอิง :
พิชานันท์ ลีแก้ว. อันตรกิริยาของโสมกับยาแผนปัจจุบัน. จุลสารสมุนไพร ปีที่ 36(4) กรกฎาคม 2562.
https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a695008.html            
https://medlineplus.gov/druginfo/natural/967.html
https://www.asiaone.com/business/korea-ginseng-association-introduces-history-and-value-korean-ginseng
ที่มาของภาพ : https://ohioline.osu.edu/factsheet/F-64

ความคิดเห็น

บัตรสุขภาพ สบายกาย สบายใจ

บัตรสุขภาพ สบายกาย สบายใจ
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 แพ็กเกจตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ปรึกษาแพทย์ ส่วนลดค่ายา

ประกันภัยเบาหวาน Protect

ประกันภัยเบาหวาน Protect
สนใจคลิก

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์กับ 724 Market
สนใจคลิก

ซื้อประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันทุกชั้น ซื้อได้ทั่วประเทศ

ซื้อประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันทุกชั้น ซื้อได้ทั่วประเทศ
ซื้อหรือสอบถามคลิกที่รูป